จำนวนการดูหน้าเว็บรวม

วันพฤหัสบดีที่ 20 มกราคม พ.ศ. 2554

การเดินทางมา จังหวัดปราจีนบุรี


แผนที่ เชื่อมโยงเส้นทางท่องเที่ยว 5 จังหวัด เบญจบูรพาสุวรรณภูมิ



การเดินทางจากกรุงเทพมหานครไปจังหวัดปราจีนบุรี 
        1. รถยนต์ ใช้เส้นทางได้หลายเส้นทาง คือ
            1.1 กรุงเทพฯ แยกรังสิตตามทางหลวงหมายเลข 305 เลียบคลองรังสิต ผ่าน อ. องครักษ์ จ.นครนายก
เข้าทางหลวงหมายเลข 33 แยกขวาที่สามแยกหนองชะอมตามทางหลวงหมายเลข 319 ระยะทาง 132 กม.
หรือวิ่งไปตามทางหลวงหมายเลข 33 เลี้ยวขวาที่สี่แยกเนินหอม ระยะทาง 136 กม.
            1.2 กรุงเทพฯ ตามทางหลวงหมายเลข 1 เลี้ยวขวาที่หินกองไปตามทางหลวงหมายเลข 33 ผ่าน
จ. นครนายก แยกขวาที่สามแยกหนองชะอม ตามทางหลวงหมายเลข 319 ระยะทาง 164 กม.
            1.3 กรุงเทพฯ ตามทางหลวงหมายเลข 304 ผ่าน จ. ฉะเชิงเทรา พนมสารคาม เลี้ยวซ้ายตามทางหลวง
หมายเลข 319 ผ่านอ.ศรีมหาโพธิ์  ระยะทาง 158 กม.

        2. รถโดยสารประจำทาง 
        มีรถโดยสารออกจากสถานีขนส่งสายตะวันออกเฉียงเหนือ (หมอชิต) ทุกวันวันละ หลายเที่ยว มีรถโดยสารธรรมดาและรถโดยสารปรับอากาศ คือ
            2.1 เส้นทางกรุงเทพฯ -หินกอง-นครนายก-ปราจีนบุรี รถโดยสารปรับอากาศ ชั้นหนึ่ง (กรุงเทพฯ -
นครนายก-ปราจีนบุรี) เที่ยวแรกเวลา 05.00 น. เที่ยวต่อไปออกทุกๆ 30 นาที เที่ยวสุดท้ายเวลา 21.00 น.
รถโดยสารธรรมดา (กรุงเทพฯ -นครนายก-ปราจีนบุรี)เที่ยวแรกเวลา 04.45 น. เที่ยวต่อไปออกทุกๆ 30 นาที
เที่ยวสุดท้าย 19.30 น. ติคต่อ สอบถามรายละเอียดได้สถานีขนส่งสายเหนือ โทร. 272-5160, (รถธรรมดา)
และโทร. 272-5299 (รถปรับอากาศ)

ตารางการเดินรถทัวร์

ตารางการเดินรถตู้ปรับอากาศ  สายบ้านสร้าง    สายองครักษ์

        3. รถไฟ
        ขบวนรถไฟโดยสารกรุงเทพฯ-ปราจีนบุรีออกจากสถานีรถไฟหัวลำโพงทุกวัน
ติดต่อสอบถามที่หน่วยบริการเดินทางสถานีรถไฟกรุงเทพฯ โทร. 223-7010, 223-7020
        ระยะทางจากอำเภอเมืองปราจีนบุรีไปยังอำเภอต่าง ๆ
                อำเภอบ้านสร้าง 20 กม. อำเภอศรีมหาโพธิ 21 กม.
                อำเภอกบินทร์บุรี 60 กม. อำเภอศรีมโหสถ 20 กม.
                อำเภอประจันตคาม 30 กม. อำเภอนาดี 78 กม.
        ระยะทางจากจังหวัดปราจีนบุรีไปยังจังหวัดใกล้เคียง
                นครนายก 29 กม. ฉะเชิงเทรา 76 กม.
                สระแก้ว 98 กม. ระยอง 186 กม.
                นครราชสีมา 194 กม. จันทบุรี 245 กม.

ตารางการเดินรถไฟ
การเดินทางภายในอำเภอเมือง
        มีรถโดยสารประจำทาง สายรอบเมือง - ศูนย์ราชการใหม่ อัตราค่าโดยสารตลอดสาย 7 บาท

...............................................

การเดินทางมา จังหวัดปราจีนบุรี


แผนที่ เชื่อมโยงเส้นทางท่องเที่ยว 5 จังหวัด เบญจบูรพาสุวรรณภูมิ



การเดินทางจากกรุงเทพมหานครไปจังหวัดปราจีนบุรี 
        1. รถยนต์ ใช้เส้นทางได้หลายเส้นทาง คือ
            1.1 กรุงเทพฯ แยกรังสิตตามทางหลวงหมายเลข 305 เลียบคลองรังสิต ผ่าน อ. องครักษ์ จ.นครนายก
เข้าทางหลวงหมายเลข 33 แยกขวาที่สามแยกหนองชะอมตามทางหลวงหมายเลข 319 ระยะทาง 132 กม.
หรือวิ่งไปตามทางหลวงหมายเลข 33 เลี้ยวขวาที่สี่แยกเนินหอม ระยะทาง 136 กม.
            1.2 กรุงเทพฯ ตามทางหลวงหมายเลข 1 เลี้ยวขวาที่หินกองไปตามทางหลวงหมายเลข 33 ผ่าน
จ. นครนายก แยกขวาที่สามแยกหนองชะอม ตามทางหลวงหมายเลข 319 ระยะทาง 164 กม.
            1.3 กรุงเทพฯ ตามทางหลวงหมายเลข 304 ผ่าน จ. ฉะเชิงเทรา พนมสารคาม เลี้ยวซ้ายตามทางหลวง
หมายเลข 319 ผ่านอ.ศรีมหาโพธิ์  ระยะทาง 158 กม.

        2. รถโดยสารประจำทาง 
        มีรถโดยสารออกจากสถานีขนส่งสายตะวันออกเฉียงเหนือ (หมอชิต) ทุกวันวันละ หลายเที่ยว มีรถโดยสารธรรมดาและรถโดยสารปรับอากาศ คือ
            2.1 เส้นทางกรุงเทพฯ -หินกอง-นครนายก-ปราจีนบุรี รถโดยสารปรับอากาศ ชั้นหนึ่ง (กรุงเทพฯ -
นครนายก-ปราจีนบุรี) เที่ยวแรกเวลา 05.00 น. เที่ยวต่อไปออกทุกๆ 30 นาที เที่ยวสุดท้ายเวลา 21.00 น.
รถโดยสารธรรมดา (กรุงเทพฯ -นครนายก-ปราจีนบุรี)เที่ยวแรกเวลา 04.45 น. เที่ยวต่อไปออกทุกๆ 30 นาที
เที่ยวสุดท้าย 19.30 น. ติคต่อ สอบถามรายละเอียดได้สถานีขนส่งสายเหนือ โทร. 272-5160, (รถธรรมดา)
และโทร. 272-5299 (รถปรับอากาศ)

ตารางการเดินรถทัวร์

ตารางการเดินรถตู้ปรับอากาศ  สายบ้านสร้าง    สายองครักษ์

        3. รถไฟ
        ขบวนรถไฟโดยสารกรุงเทพฯ-ปราจีนบุรีออกจากสถานีรถไฟหัวลำโพงทุกวัน
ติดต่อสอบถามที่หน่วยบริการเดินทางสถานีรถไฟกรุงเทพฯ โทร. 223-7010, 223-7020
        ระยะทางจากอำเภอเมืองปราจีนบุรีไปยังอำเภอต่าง ๆ
                อำเภอบ้านสร้าง 20 กม. อำเภอศรีมหาโพธิ 21 กม.
                อำเภอกบินทร์บุรี 60 กม. อำเภอศรีมโหสถ 20 กม.
                อำเภอประจันตคาม 30 กม. อำเภอนาดี 78 กม.
        ระยะทางจากจังหวัดปราจีนบุรีไปยังจังหวัดใกล้เคียง
                นครนายก 29 กม. ฉะเชิงเทรา 76 กม.
                สระแก้ว 98 กม. ระยอง 186 กม.
                นครราชสีมา 194 กม. จันทบุรี 245 กม.

ตารางการเดินรถไฟ
การเดินทางภายในอำเภอเมือง 
        มีรถโดยสารประจำทาง สายรอบเมือง - ศูนย์ราชการใหม่ อัตราค่าโดยสารตลอดสาย 7 บาท

...............................................

สถานที่ท่องเที่ยวใน จังหวัดปราจีนบุรี อำเภอประจันตคาม



           
      อยู่ห่างจากที่ทำการหน่วยพิทักษ์ป่าอุทยาน
         แห่งชาติ ขญ 10 เพียง 500 เมตร การเดินทาง
         จากตัวเมืองปราจีนบุรีไปตามถนนสายปราจีน -
         ประจันตคาม (ทางหลวงหมายเลข 3452)
         ระยะทางประมาณ 16 กม.จากนั้นเลี้ยวขวาไปตาม
         ทางหลวงหมายเลข 33 จนถึงสี่แยกประจันตคาม
         เลี้ยวซ้ายไปตามถนน รพช. ระยะทาง 16 กม.
         และเดินเท้าต่อไปอีก 500 เมตรจะถึงบริเวณ
         น้ำตกตะคร้อ อัตราค่าเข้าชมน้ำตกคนละ 10 บาท




น้ำตกสลัดได


   เป็นน้ำตกขนาดกลางสูงประมาณ 2-3 เมตร กว้างประมาณ
  30-40 เมตร น้ำจะไหลลงสู่แอ่งด้านล่างลัดเลาะไปตามแนว
  ลานหินปูลาดไปเป็นทางยาว รอบข้างจะเขียวขจีไปด้วยต้นไม้
  ต่าง ๆ การเดินทาง เดินทางเท้าต่อจากน้ำตกตะคร้อ
  โดยข้ามแพไปอีกฟากหนึ่ง และเดินเท้าผ่านทุ่งหญ้าที่มีขนาด
  สูงระดับเอวระยะประมาณ 500 เมตร เดินเลาะเลียบต้นไม้มา
  จะพบลานหินขนาดใหญ่มีสายน้ำไหลผ่านตรงกลางสองข้างทาง
  เป็นโขดหินรูปร่างแปลก ๆตรงกลางมีพระพุทธรูปสีเหลือง
  อร่ามประดิษฐานอยู่

       
         


สถานที่ท่องเที่ยวใน จังหวัดปราจีนบุรี อำเภอนาดี

 

 

 

  

       
    ตั้งอยู่ทีตำบลบุพราหมณ์ อำเภอนาดี ใช้เส้นทางหลวงหมายเลข 304
     สายอำเภอกบินทร์บุรี-จังหวัดนครราชสีมา ระยะทางประมาณ 32 กม.
    ถีงที่ทำการอุทยานแห่งชาติทับลาน มีเนื้อที่ครอบคลุมตำบลบุพราหมณ์
    ในเขตอำเภอนาดี จังหวัดปราจีนบุรี, อำเภอปักธงชัย อำเภอวังน้ำเขียว
    อำเภอครบุรี อำเภอเสิงสาง จังหวัดนครราชสีมา และอำเภอปะคำ
    จังหวัดบุรีรัมย์ รวมเนื้อที่ประมาณ 2,240 ตร.กม. หรือ 1,400,000 ไร่
    ได้รับการประกาศเป็นอุทยานแห่งชาติเมื่อวันที่ 23 ธันวาคม พ.ศ. 2524
    ภายในอุทยานฯมีสถานที่น่าสนใจ ได้แก่ ป่าลาน และสวนพักผ่อน

          ป่าลาน 
     เป็นป่าลานที่ขึ้นเองตามธรรมชาติแห่งสุดท้ายของประเทศไทย ลาน
     เป็นพันธุ์ไม้ตระกูลปาล์มที่หายาก ออกดอกเมื่อต้นมีอายุ 20 ปีขึ้นไป
     ฤดูออกดอกราวเดือนเมษายน-มิถุนายน ดอกมีสีเหลืองสดสวยงามมาก
     เมื่ออกดอกแล้วต้นลานนั้นจะตายไปฤดูที่ต้นลานออกดอกบริเวณ
     ป่าลานจะมีทิวทัศน์สวยงามมาก

         สวนพักผ่อน
     อยู่ติดกับที่ทำการอุทยานฯ มีพื้นที่ประมาณ 20 ไร่
     ประกอบด้วยต้นลานและพันธุ์ไม้นานาชนิด ภายในร่มรื่น
     มีซุ้มสำหรับนั่งพักผ่อน กลางสวนมีสระน้ำขนาดใหญ่
     อ่างเก็บน้ำทับลาน อยู่ห่างจากบ้านทับลานประมาณ 1 กม.
     เป็นอ่างเก็บน้ำที่สวยงามล้อมรอบไปด้วยภูเขา อากาศเย็นสบาย

         น้ำตกเหวนกกก 
     อยู่ห่างจากบ้านทับลานประมาณ 7 กม. เดินเท้าอีกประมาณ 1 กม.
     จึงจะถึงน้ำตก เป็นน้ำตกที่สวยงาม มีน้ำไหลเฉพาะช่วงฤดูฝนเท่านั้น
     อุทยานแห่งชาติทับลานยังไม่มีบ้านพักบริการแก่นักท่องเที่ยว
     หากต้องการพักแรมจะต้องนำเต๊นท์ไปเอง

          ติดต่อสอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมที่
      อุทยานแห่งชาติทับลาน ตู้ปณ. 37 ปท.อำเภอกบินทร์บุรี
      จังหวัดปราจีนบุรี 25116 หรือที่กองอุทยานแห่งชาติ กรมป่าไม้
      บางเขน กรุงเทพมหานคร โทร. 561-4292 ต่อ 724-5, 579-5734,
      579-7223

สถานที่ท่องเที่ยวใน จังหวัดปราจีนบุรี อำเภอกบินทร์บุรี


                     อุทยานนี้สร้างขึ้นเพื่อเป็นการเฉลิมพระเกียรติ
    พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวฯ ทรงครองราชย์ครบ 50 ปี
    ในพ.ศ. 2539 ภายในจัดเป็นสวนสุขภาพและสวนสาธารณะ
    เพื่อเป็นที่พักผ่อนหย่อนใจของประชาชน และเป็นแหล่ง
    ดูนกเป็ดน้ำ ในระหว่างเดือนมีนาคม-พฤษภาคมของทุกปี
           
  

 

สถานที่ท่องเที่ยวใน จังหวัดปราจีนบุรี อำเภอศรีมหาโพธิ


อนุสาวรีย์ลายพระหัตถ์


           ตั้งอยู่ที่ตำบลหนองโพรง อยู่ห่างจากที่ว่าการ
    อำเภอศรีมหาโพธิไปทางบ้านโคกขวาง
    ประมาณ 15 กม. โดยอยู่เยื้องทางเข้า
    หลุมเมือง เป็นที่ประดิษฐานพระปรมาภิไธยย่อ
    ของพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว  
    ทรงจารึกไว้คราวเสด็จประพาสปราจีนบุรี   
    เมื่อวันที่ 18 ธันวาคม พ.ศ. 2457
    บนแผ่นศิลาแลงซึ่งเป็นซากฐานอาคาร
    สมัยทวารวดี อายุราวพุทธศตวรรษที่ 12-13

 

สถานที่ท่องเที่ยวใน จังหวัดปราจีนบุรี อำเภอ



  

           
          
วัดต้นศรีมหาโพธิ์

          ตั้งอยู่ที่ตำบลโคกปีบ อำเภอศรีมโหสถ จากตัวเมือง
     ใช้เส้นทางสายปราจีนบุรี - อำเภอพนมสารคาม
     ทางหลวงหมายเลข 319 ระยะทางประมาณ 32 กม.
     แยกซ้ายเข้าไปอีกประมาณ 1 กม.ก็จะถึงวัดนี้
     ภายในวัดมีต้นโพธิ์ขนาดใหญ่ สูงประมาณ 30 เมตร
     ลำต้นวัดโดยรอบประมาณ 20 เมตร ตามตำนาน
     เชื่อว่าเป็นต้นศรีมหาโพธิ์ที่นำหน่อมาจากพุทธคยา
     มาปลูกเป็นต้นแรกในประเทศไทย อายุประมาณ 2000 ปี
     พระเจ้าทวานัมปะยะดิษฐ์เจ้าครองเมืองศรีมโหสถ
     ในสมัยขอมเรืองอำนาจทรงเลื่อมใสในพุทธศาสนาจึงได้ส่ง
     คณะทูตเดินทางไปขอกิ่งต้นโพธิ์ที่พระพุทธเจ้าประทับ
     เมื่อคราวตรัสรู้  จากเจ้าผู้ครองนครปาตุลีบุตรประเทศ
     อินเดีย แล้วนำกิ่งโพธิ์นั้นมาปลูกที่วัดต้นโพธิ์
     ถือว่าเป็นสัญลักษณ์ของจังหวัดปราจีนบุรี
     ในวันวิสาขบูชาของทุกปีจะมีงานนมัสการต้นพระศรีมหาโพธิ์

สถานที่ท่องเที่ยวใน จังหวัดปราจีนบุรี อำเภอบ้านสร้าง

 

     
              
          ตั้งอยู่ที่หมู่ 1 ตำบลบางพลวง อำเภอบ้านสร้าง
  กลุ่มสตรีอำเภอบ้านสร้างได้รวมตัวกันจัดตั้งสหกรณ์
  ทอเสื่อกก  โดยผลิตและจำหน่ายกกเส้นและนำกกเส้นมา
  ทอเสื่อกก และผลิตภัณฑ์ต่างๆ อาทิ กระเป๋าถือสตรี
  กระเป๋าเอกสาร แฟ้มเอกสาร ที่รองอาสนะ แผ่นรองจาน
  สมุดบันทึก ของชำร่วยต่าง ๆ 

 

        

สถานที่ท่องเที่ยวใน จังหวัดปราจีนบุรี อำเภอเมือง


           ตึกเจ้าพระยาอภัยภูเบศรอยู่ภายในโรงพยาบาลเจ้าพระยาอภัยภูเบศร อยู่ห่างจากตัวเมือง
ประมาณ 2 กิโลเมตร ใช้เส้นทางหลวงหมายเลข 3069 ถนนปราจีนอนุสรณ์ ตึกหลังนี้เจ้าพระยาอภัยภูเบศร
(ชุ่ม อภัยวงศ์) สร้างขึ้นเมื่อปี พ.ศ.2452  โดยให้บริษัทโฮวาร์ด เออร์สกิน เป็นผู้ออกแบบก่อสร้าง เพื่อถวาย
เป็นที่ประทับของพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว หากเสด็จมณฑลปราจีนบุรีอีก หลังจากที่ได้เสด็จ
ในครั้งแรกเมื่อปี พ.ศ.2451แต่เสด็จสวรรคตก่อนในกลางปี พ.ศ. 2453 
         ตึกหลังนี้ได้ใช้รับเสด็จพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัวในปี พ.ศ. 2455รวมทั้งพระบรมวงศานุวงศ์
อีกหลายพระองค์คราเสด็จมณฑลปราจีนบุรีโดยที่ท่านเจ้าของตึกไม่เคยใช้ตึกหลังนี้เป็นที่พำนักส่วนตัวเลย
ตราบจนสิ้นอายุขัยในปี พ.ศ. 2465
 จึงได้มีการจัดตั้งศพของท่านไว้ชั้นบนของตึกนี้ก่อนการพระราชทานเพลิงศพในปีเดียวกัน
  

รูปหล่อเจ้าพระยาอภัยภูเบศร
( ชุ่ม อภัยวงศ์ )

  


               

                                  ภาพเขียนสีปูนเปียกบนเพดาน
        ต่อมาพระอภัยวงศ์ วรเศรษฐ (ช่วง อภัยวงศ์) ได้น้อมเกล้าถวาย
แด่พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว เมื่อคราวอภิเษกสมรส
กับพระนางเจ้าสุวัทนาพระวรราชเทวีซึ่งเป็นหลานสาวคนหนึ่งของท่าน
ในปี พ.ศ.2480พระนางเจ้าสุวัทนาพระวรราชเทวีได้โดยเสด็จ
สมเด็จพระภคินีเธอเจ้าฟ้าเพชรรัตน์ราชสุดาสิริโสภาพรรณวดีพระราชธิดา ไปประทับที่ประเทศอังกฤษจึงประทานที่ดินและสิ่งปลูกสร้างทั้งหมดแก่มณฑลทหารบกที่ 2 จังหวัดปราจีนบุรีเพื่อใช้เป็นสถานพยาบาลสำหรับทหารและประชาชนทั่วไปต่อมาได้โอนมาเป็นของกรมสาธารณสุขและโรงพยาบาลแห่งนี้ได้เป็นโรงพยาบาลประจำจังหวัดปราจีนบุรี ทำพิธีเปิดเมื่อวันที่ 24 มิถุนายน พ.ศ. 2484และเปลี่ยนชื่อเป็น
                     
        
" โรงพยาบาลเจ้าพระยาอภัยภูเบศร "

ในวันที่ 24 มิถุนายน พ.ศ.2509
เพื่อเป็นอนุสรณ์รำลึกถึงพระคุณของเจ้าพระยาอภัยภูเบศร
ผู้สร้างตึกและสร้างความเจริญให้กับจังหวัดปราจีนบุรีอย่างมากมาย


พระราชปรารภ ของพระพุทธเจ้าหลวง
เกี่ยวกับคุณค่าของยาไทย 


                                         หัวเสาราวบันได

                                                                     มีดหมอ

                                                                   รางบดยา
                        
                                                    
ตู้เก็บยาไทยแผนโบราณ
         
        ตึกหลังนี้ได้ใช้เป็นห้องตรวจโรค ห้องจำหน่ายยา ห้องผ่าตัด
และห้องคนไข้หญิง จนกระทั่งในปี พ.ศ.2512 การก่อสร้าง
ตึกอำนวยการได้เสร็จสิ้นลง ทางโรงพยาบาลจึงใช้ตึกหลังนี้
เฉพาะการสัมมนาในบางกรณี ในวันที่ 25 มกราคม พ.ศ.2533
กรมศิลปากรได้ประกาศขึ้นทะเบียนตึกเจ้าพระยาอภัยภูเบศรเป็น
โบราณสถาน และในวันที่ 3 พฤศจิกายน พ.ศ. 2537 ตึกหลังนี้ได้
ใช้รับเสด็จสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี
ในการเสด็จส่วนพระองค์เพื่อทอดพระเนตรตึกเจ้าพระยาอภัยภูเบศร
ตัวอาคารเป็นสถาปัตยกรรมยุโรปแบบบาโร้ค (Barogue)
เป็นตึกสองชั้นมีมุขด้านหน้าตรงกลางเป็นโดม   ผนังด้านนอก
มีลายปูนปั้นลายพฤกษาประดับซุ้มประตูและหน้าต่าง
ภายในตึกแบ่งออกเป็นหลายห้อง ห้องที่งดงามที่สุดคือ
ห้องโถงกลางชั้นล่างซึ่งยังคงลักษณะการตกแต่งภายในแบบเดิม
อยู่ครบถ้วนตั้งแต่ลวดลายกระเบื้องปูพื้นภาพเขียนสีปูนเปียกบน
เพดาน และลายปูนปั้นหัวเสาปัจจุบันใช้เป็นที่จัดแสดงประวัติ
เจ้าพระยาอภัยภูเบศร ของใช้ประจำตัว พระฉายาลักษณ์พระนางเจ้า
สุวัทนาพระวรราชเทวี และสมเด็จพระเจ้าภคินีเธอเจ้าฟ้าเพชรรัตน์
ราชสุดาสิริโสภาพรรณวดี ซึ่งทั้งสองพระองค์เป็นหลานปู่และหลานทวดของเจ้าพระยาอภัยภูเบศรด้วยห้องชั้นล่างซีกซ้ายของอาคารจัดเป็น    
            
            "พิพิธภัณฑ์การแพทย์แผนไทยอภัยภูเบศร"

โดยนายแพทย์ไพโรจน์ นิงสานนท์ อดีตปลัดกระทรวงสาธารณสุข
ได้มอบวัสดุครุภัณท์เกี่ยวกับยาไทย เช่น ตู้เก็บสมุนไพร ครกบดยา
รางบดยา หินฝนยา ตำรายาไทย ฯลฯเพื่อใช้ประโยชน์ในการศึกษาการ
แพทย์ไทย และสนับสนุนการจัดตั้ง "มูลนิธิหมื่นชำนาญแพทยา" ขึ้น
หมื่นชำนาญแพทยา(พลอย แพทยานนท์)เป็นบุตรของแพทย์หลวง
ประจำพระองค์ของพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว
มีความเชี่ยวชาญเกี่ยวกับการแพทย์แผนไทยเป็นอย่างมาก
พิพิธภัณฑ์การแพทย์แผนไทยอภัยภูเบศรเปิดบริการให้เข้าชม
เมื่อวันที่ 24 มิถุนายน พ.ศ. 2539

จังหวัดปราจีนบุรี






ปราจีนบุรี
ศรีมหาโพธิ์คู่บ้าน ไผ่ตงหวานคู่เมือง ผลไม้ลือเลื่อง เขตเมืองทวารวดี
จังหวัดปราจีนบุรี
จังหวัดปราจีนบุรี เคยเป้นดินแดนที่มีความเจริญรุ่งเรืองมาตั้งแต่สมีัยทวารวดี และมีการพัฒนาการต่อเนื่องมาจนถึงสมัยลพบุรีประมาณ 800 ปีก่อน ปรากฏหลักฐานเป็นซากเมืองโบราณที่เรียกว่า “เมืองศรีมโหสถ” ที่ตำบลโคกปีบ อำเภอศรีมโหสถ และทางด้านทิศตะวันออกของเมืองศรีมโหสถที่บริเวณบ้านโคกขวาง อำเภอศรีมหาโพธิ ยังมีชุมชนโบราณมีอายุร่วมสใัย เดียวกันกับเมืองศรีมโหสถอีกด้วย บริเวณซากเมืองโบราณเหล่านี้มีซากโบราณสถานซึ่งใช้ประกอบพิธีกรมม ศาสนกิจ และโบราณวัตถุ ได้แก่ พระพุทธรูปเทวรูป เครื่องปั้นดินเผา เครื่องสำริด เครื่องมือเครื่องใช้กระจัดกระจายอยู่ทั่วไป ในสมัยต่อมา ศูนย์กลางความเจริญได้ย้ายมาตั้งริมฝั่งแม่น้ำปราจีนบุรี เช่นปัจจุบัน ในสมัยกรุงศรีอยุธยา เรียกว่า “เมืองปราจีน” ในสมัยกรุงรัตนโกสินทร์ตอนต้นก็ยังเรียกว่า “เมืองปราจิณ” หรือ “มณฑลปราจิณ” จวบจนในัชสมัยพระบาทสมเด็จพระมงกุฏเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 6 ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้จัดระเบียบการปกครองแผ่นดินตามแบบต่างประเทศ มณฑลปราจิณ ได้ถูกยุุบคงมีฐานะเป็นเพียงเมืองหนึ่งต่อมาทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้เปลี่ยนคำว่าเมืองเป็นจังหวัดจึงมีชื่อเรียกใหม่ว่า “จังหวัดปราจีนบุรี”
ตราประจำจังหวัด เป็น รูปต้นศรีมหาโพธิ์ ซึ่งปลูกไว้ที่ตำบลโคกปีบ อำเภอศรีมโหสถ มีความหมายเป็นสัญลักษณ์ในด้านพระพุทธศาสนา ที่เชิดหน้าชูตาที่สุดของจังหวัด สันนิษฐานว่าเป้ฯพันธุ์จากต้นพระศรีมหาโพธิ์พุทธคยา ประเทศอินเดีย ซึ่งเป็ฯต้นโพธิ์ที่พระองค์ทรงประทับบำเพ็ญธรรมจนสำเร็จเป็นพระสัมมาสัมพุทธ เจ้า นำเข้ามาปลูกกว่า 2000 ปี
ดอกไม้ประจำจังหวัด คือ ดอกปีบ สีประจำจังหวัด คือ สีแดงเหลือง

จังหวัดปราจีนบุรี


ปราจีนบุรี
ศรีมหาโพธิ์คู่บ้าน ไผ่ตงหวานคู่เมือง ผลไม้ลือเลื่อง เขตเมืองทวารวดี
จังหวัดปราจีนบุรี
จังหวัดปราจีนบุรี เคยเป้นดินแดนที่มีความเจริญรุ่งเรืองมาตั้งแต่สมีัยทวารวดี และมีการพัฒนาการต่อเนื่องมาจนถึงสมัยลพบุรีประมาณ 800 ปีก่อน ปรากฏหลักฐานเป็นซากเมืองโบราณที่เรียกว่า “เมืองศรีมโหสถ” ที่ตำบลโคกปีบ อำเภอศรีมโหสถ และทางด้านทิศตะวันออกของเมืองศรีมโหสถที่บริเวณบ้านโคกขวาง อำเภอศรีมหาโพธิ ยังมีชุมชนโบราณมีอายุร่วมสใัย เดียวกันกับเมืองศรีมโหสถอีกด้วย บริเวณซากเมืองโบราณเหล่านี้มีซากโบราณสถานซึ่งใช้ประกอบพิธีกรมม ศาสนกิจ และโบราณวัตถุ ได้แก่ พระพุทธรูปเทวรูป เครื่องปั้นดินเผา เครื่องสำริด เครื่องมือเครื่องใช้กระจัดกระจายอยู่ทั่วไป ในสมัยต่อมา ศูนย์กลางความเจริญได้ย้ายมาตั้งริมฝั่งแม่น้ำปราจีนบุรี เช่นปัจจุบัน ในสมัยกรุงศรีอยุธยา เรียกว่า “เมืองปราจีน” ในสมัยกรุงรัตนโกสินทร์ตอนต้นก็ยังเรียกว่า “เมืองปราจิณ” หรือ “มณฑลปราจิณ” จวบจนในัชสมัยพระบาทสมเด็จพระมงกุฏเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 6 ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้จัดระเบียบการปกครองแผ่นดินตามแบบต่างประเทศ มณฑลปราจิณ ได้ถูกยุุบคงมีฐานะเป็นเพียงเมืองหนึ่งต่อมาทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้เปลี่ยนคำว่าเมืองเป็นจังหวัดจึงมีชื่อเรียกใหม่ว่า “จังหวัดปราจีนบุรี”
ตราประจำจังหวัด เป็น รูปต้นศรีมหาโพธิ์ ซึ่งปลูกไว้ที่ตำบลโคกปีบ อำเภอศรีมโหสถ มีความหมายเป็นสัญลักษณ์ในด้านพระพุทธศาสนา ที่เชิดหน้าชูตาที่สุดของจังหวัด สันนิษฐานว่าเป้ฯพันธุ์จากต้นพระศรีมหาโพธิ์พุทธคยา ประเทศอินเดีย ซึ่งเป็ฯต้นโพธิ์ที่พระองค์ทรงประทับบำเพ็ญธรรมจนสำเร็จเป็นพระสัมมาสัมพุทธ เจ้า นำเข้ามาปลูกกว่า 2000 ปี
ดอกไม้ประจำจังหวัด คือ ดอกปีบ สีประจำจังหวัด คือ สีแดงเหลือง